อัตภาวกาล (Homatagia)

ชื่อไทย : อัตภาวกาล
125 นาที / 2019 / กำกับ: ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์
2h 5min / 2019 / Director: Chanasorn Chaikitiporn

‘อัตภาวกาล’ เจ้าของรางวัลวิจิตรมาตรา ของมูลนิธิหนังไทย ปีล่าสุด ผลงานธีสิสของ ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์ ที่หยิบเรื่องครอบครัว มาสร้างเป็นหนังยาวอันเป็นส่วนผสมของสารคดีครอบครัวกับหนังฟิกชั่นสะเทือนอารมณ์ที่ถ่ายทอดความรู้สึกของผู้สร้างอย่างหมดจด

ในความเปราะบางของต้นไม้ ความแข็งแกร่งของสายน้ำ ในการกลับมาของลูกชาย การตายของพ่อ การเดินทางไปพบพ่ออีกครั้ง ในความทรงจำของผู้หญิงสองคน

หญิงชราผู้หนึ่งใช้เวลาทั้งหมดเพื่อดูแลสามีที่ป่วยด้วยโรคร้ายและกำลังจะตายในอีกไม่นาน ลูกสาวของพวกเขาต้องตามน้องชายที่หนีออกจากบ้านไปหลายปีให้กลับมาบ้านก่อนที่พ่อจะจากไป ในขณะเดียวกัน เด็กหนุ่มมหาวิทยาลัยหลานชายของพวกเขาใช้เวลาในวันหยุดยาวเพื่อเดินทางไปหา ปิยะ พ่อของเขาที่ไม่ได้เจอกันมานานหลังจากที่แยกห่างจากครอบครัวไป

A fragility of plants and a strength of the river. The return of the son and the death of the father. The son’s journey to see the father and the memory of two women.

A 70-year-old man taken care of by his wife is about to die due to his illness. On his last day, his runaway son comes back to him. A college student, their grandchild, who decides to visit his building contractor father. They have not met each other in a long while since the father is no longer a part of the family.

more

10 Stories about “JR”

ก่อนมาร่วมงานกับ อานเญส วาร์ดา ใน Faces Places เจอาร์เป็นใครทำอะไรมาก่อน? ขอแนะนำให้คุณรู้จัก 10 เรื่องเบื้องต้นของศิลปินหนุ่มสุดเจ๋งคนนี้

HOW TO MAKE A BOOK WITH STEIDL

แกร์ฮาร์ด ชไตเดิล คือเจ้าของสำนักพิมพ์เก่าแก่ในเยอรมนีผู้เลื่องชื่อด้านความรักในการออกแบบและการจัดพิมพ์หนังสือ เขามีวิธีคิดและวิธีรักษาคุณค่าของ “สื่อเก่า” ชนิดนี้ไว้ได้อย่างไรในโลกที่ใครๆ ก็บอกว่า “สิ่งพิมพ์ตายแล้ว”?

Aftersun: มิติของสุนทรียศาสตร์แห่งการถ่ายทอดความรัก ความเจ็บปวด และตัวตนที่พร่าเลือน

มันไม่ใช่หนังเรียบง่าย แต่เป็นหนังที่มีวิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบ non-narrative หรือ alternative narrative อย่างเต็มไปด้วย “ความหมาย” ที่ถ่ายทอดความเจ็บปวด ความรัก และนัยทางวัฒนธรรมของคนอังกฤษในช่วงทศวรรษ 1990 ได้อย่างลึกซึ้ง

WHERE TO INVADE NEXT

สนุกสุดพลังกับ ไมเคิล มัวร์ ที่อาสาออกสำรวจโลกว่า “ประเทศที่ดีๆ” พัฒนาชีวิตผู้คนกันอย่างไร

“หนังของผมมันประหลาด และเดวิด โบวี่ยอมมาเล่น เพราะเดวิด โบวี่ก็เป็นคนประหลาด!”

ใครเคยผ่านตาหนังของ นางิสะ โอชิม่า คงเข้าใจว่าเพราะอะไรคำว่า “ประหลาด” จึงคู่ควรกับเขา ไม่แค่วิธีเล่าวิธีกำกับ แต่ประหลาดไปจนถึงวิธีแคสติ้งนักแสดงเลยล่ะ!

Sheltered

สารคดีเรื่องนี้พาเราไปเฝ้าดูความใส่ใจทุ่มเทอย่างจริงจังของเหล่าพนักงานและอาสาสมัคร ซึ่งมุ่งหวังฝึกฝนให้สัตว์เลี้ยงตัวจ้อยไร้บ้านได้รับการฟื้นฟูและเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสที่จะได้กลับไปอยู่กับมนุษย์คนใหม่

ซงคังโฮ : “ใบหน้าของหนังเกาหลีใต้”

“ผมไม่ใช่คนหล่อคนเท่จึงเหมาะกับคนทำหนังที่ต้องการเล่าเรื่องของคนธรรมดา – หรือพูดอีกอย่างว่า คนที่ดูผิวเผินเหมือนธรรมดา แต่แท้จริงแล้วกำลังต่อสู้กับความเลวร้ายสาหัสอยู่”