
ว่ากันตามตำราก่อน… บิล นิโคลส์ ปรมาจารย์ชาวอเมริกันได้จัดแบ่งสารคดีออกเป็น 6 รูปแบบใหญ่ ๆ (หรือจริง ๆ เรียกว่า “วิธีการเล่าเรื่องที่โดดเด่น 6 รูปแบบที่คนทำสารคดีมักเลือกใช้” จะตรงกว่า โดยเราอาจมองมันว่าเป็นเหมือน “ภาษา” ที่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าคนทำหนังคนใดจะอยากสื่อสารกับผู้ชมด้วยภาษาแบบไหน) ดังต่อไปนี้
นี่เป็นวิธีการเล่าสารคดีแบบที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี … ลองนึกถึงสารคดีธรรมชาติที่มีเสียงบรรยายอันสุดจะทรงพลัง หรือสารคดีบอกเล่าปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่มีเสียงผู้บรรยายคอยอธิบายสิ่งที่เรากำลังชมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยข้อมูลหรือมุมมองที่ผ่านการค้นคว้ากลั่นกรองมาอย่างละเอียดชัดเจน ราวกับมีเพื่อนผู้รอบรู้คอยนั่งอธิบายสถานการณ์อันซับซ้อนให้เราฟังและคล้อยตามโดยไม่ต้องสงสัยหรืองุนงง
ตัวอย่างสารคดีที่โดดเด่นในรูปแบบนี้ ก็เช่น
ภาพน้ำฝนหยดบนถนนก็อาจเป็นภาพน้ำฝนหยดบนถนนเฉย ๆ สำหรับเราหลายคน แต่สำหรับคนทำหนังที่มีสายตาดั่งกวี น้ำฝนที่โปรยปรายลงบนถนนอาจหมายถึงการเต้นระบำของแสงและเงาที่มีชีวิตชีวา …ซึ่งนี่แหละคือสิ่งที่ ยอริส อีเวนส์ รังสรรค์ขึ้นใน Regen (Rain, 1929) สารคดีที่พลิกโฉมวงการด้วยการให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าการเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมา
งานในแนวทางนี้มักให้ความรู้สึกราวกับเรากำลังอ่านบทกวีผ่านภาพ มากกว่าจะเป็นสารคดีทั่วไป พวกเขาสร้างความหมายผ่านจังหวะ รูปแบบ และการเชื่อมโยงภาพที่งดงาม แทนที่จะยัดเยียดข้อถกเถียงอย่างโจ่งแจ้ง
ผลงานที่โดดเด่นในแนวทางนี้มีอาทิ
เมื่อก้าวเข้าสู่ทศวรรษ 1960 โลกของสารคดีเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยการเกิดขึ้นของกล้องวิดีโอขนาดเล็กที่ทั้งเบาและพกพาง่าย เอื้อให้คนทำหนังสามารถถือกล้องติดตามซับเจ็กต์ของพวกเขาไปได้ทุกที่ โดยไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการได้เฝ้าสังเกตชีวิตของคนเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด ไม่มีการสัมภาษณ์ ไม่มีดนตรีประกอบ ไม่มีเสียงบรรยาย มีเพียงเรื่องจริงดำเนินไปตรงหน้าเลนส์ซึ่งคนทำหนังทำหน้าที่บันทึกไว้แล้วปล่อยให้ผู้ชมตีความเอาเอง
ตัวอย่างผลงานที่ทรงอิทธิพลในแนวทางนี้:
สารคดีกลุ่มนี้ขึ้นชื่อว่าเป็น “สารคดีแบบมีส่วนร่วม” ก็เพราะตัวคนทำเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องราว ไม่ใช่แค่ผู้สังเกตการณ์ (observer) แต่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาโดยตรงและอาจจะมีอิทธิพลในการขับเคลื่อนเรื่องเองด้วย ผู้กำกับอาจจะปรากฏตัวต่อหน้ากล้องเพื่อสัมภาษณ์ผู้คน หรือพูดผ่านเสียงพากย์ (voiceover) ก็ได้ นอกจากนั้นการมีส่วนร่วมในที่นี้ยังหมายรวมไปถึงการที่หนังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชนนั้น โดยผู้กำกับจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ช่วยให้ชุมชนได้มาเล่าเรื่องของตนเอง เป็นการใช้หนังเป็นสื่อสร้างพื้นที่ให้ผู้คนได้แบ่งปันเรื่องราวและมุมมองของพวกเขา
ตัวอย่างเด่น ๆ เช่น
เป็นวิธีเล่าเรื่องสารคดีที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนทำหนังกับผู้ชม กระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามต่อการรับรู้ของตัวเอง และทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับ “ความจริง” อีกครั้ง วิธีการของหนังก็คือ การนำเสนอ “กระบวนการสร้างสารคดี” เอง ให้ผู้ชมได้เห็นเบื้องหลังการผลิตในแง่มุมต่าง ๆ โดยตัวคนทำเข้าไปมีบทบาทในเรื่องราวและมักให้กล้องหรือทีมงานเป็นส่วนหนึ่งของหนังด้วย เพื่อเน้นให้ผู้ชมตระหนักถึงโครงสร้างและอิทธิพลของกระบวนการสร้างภาพยนตร์ต่อเนื้อหา และลดอคติที่อาจเกิดขึ้นจากการรับชม
ตัวอย่างของสารคดีกลุ่มนี้ เช่น
เป็นรูปแบบของสารคดีที่เน้นความเกี่ยวข้องของคนทำหนังกับเรื่องราวที่นำเสนอ โดยใช้ประสบการณ์หรือความสัมพันธ์ส่วนตัวของคนทำหนังเป็นจุดเริ่มต้นในการสำรวจประเด็นที่กว้างขึ้น เช่น การเมือง ประวัติศาสตร์ หรือสังคมของกลุ่มคนต่าง ๆ
สารคดีแนวนี้มักใช้มุมมองที่เป็นอัตวิสัย (subjective lens) เพื่อถ่ายทอด “ความจริง” ที่ไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงแบบสัมบูรณ์ แต่เป็นความจริงที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวของตัวคนทำหนังเอง ผู้กำกับสารคดีแนวนี้มักจะปรากฏตัวในหนังด้วยและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องราว นอกจากนี้ยังอาจมีการใช้ฟุตเทจเบื้องหลังการถ่ายทำ หรือฉากที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างคนทำสารคดีกับบุคคลหรือประเด็นที่เขากำลังสำรวจอยู่นั้น
ตัวอย่างเช่น
สารคดีแบบ Performative เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์และความคิดของผู้ชม เนื่องจากไม่เพียงแต่ให้ข้อมูล แต่ยังถ่ายทอดเรื่องราวผ่านประสบการณ์ส่วนตัวของผู้สร้าง ซึ่งช่วยให้เกิดการตั้งคำถามกับ “ความจริงอื่น ๆ” ที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลักประเภทอื่นในสังคม
จะเห็นได้ว่า สารคดีแต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเองที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สารคดีจำนวนมากไม่ได้สร้างภายใต้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ผสมผสานหลายสไตล์เข้าด้วยกัน (เช่น Chronicle of a Summer นั้นมีทั้งความเป็น Participatory และ Reflexive, หนังส่วนใหญ่ของ ไมเคิล มัวร์ เป็น Participatory ผสม Performative ขณะที่หนังของพี่น้องเมย์เซิลส์ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งหนังในบุกเบิกแนวทาง Direct cinema เอาเข้าจริงก็มีความเป็นทั้ง Participatory และ Observational ปะปนกัน) การจัดแบ่งประเภทเช่นนี้จึงไม่ได้มีไว้เพื่อขีดกรอบให้แก่หนังเรื่องไหน แต่มีไว้เพื่อให้เรามองเห็นความหลากหลายของ “วิธีเล่า” ของหนังสารคดีมากกว่า
ที่น่าสนใจคือ แนวคิดข้างต้นของ บิล นิโคลส์ ก็ยังมีผู้เห็นแย้ง และมีหลายคนที่นำเสนอวิธีการจัดแบ่งประเภทของสารคดีแบบอื่น ๆ ที่น่าศึกษาเช่นกัน ซึ่งเราจะนำมาเล่าในบทความตอนต่อ ๆ ไป
โครงการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาพยนตร์สารคดี
ได้รับการส่งเสริมจาก กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม