
LAND GRABBING
สำรวจวิกฤติการณ์ “ล่าอาณานิคม 2.0” เมื่อผืนแผ่นดินและชีวิตคนตัวเล็กๆ ต้องตกอยู่ในความเสี่ยง จากการยึดครองเพื่อค้ากำไรของนักลงทุนและนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมทั่วโลก
ชื่อไทย : บุกให้แหลก แหกตาดูโลก
120 นาที / สหรัฐอเมริกา / 2015 / กำกับ: ไมเคิล มัวร์ / เรต: 13+
2h / USA / 2015 / Director: Michael Moore / Certificate: 13+
จะมัวหดหู่สิ้นหวังไปไย
ป๋าไมเคิลอาสาพาไปบุกโลกกว้าง
พิสูจน์กันให้มันกระจ่าง
ประเทศดีๆ เค้าสร้างคุณภาพชีวิตกันยังไง?!
…ไฉนนายจ้างอิตาลีจึงบอกว่า ถ้าข้าได้เที่ยวสบาย ลูกจ้างก็ต้องได้เที่ยวสบายไม่แพ้กัน?
…เหตุใดโรงเรียนฝรั่งเศส จึงลงทุนคัดสรรอาหารเที่ยงชั้นดีให้เด็กกิน?
…ทำอย่างไรฟินแลนด์ จึงทะยานสู่การเป็นเจ้าของการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก?
…ทำไมรัฐบาลสโลวีเนีย ต้องให้นักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยฟรี?
…เพราะอะไรครูเยอรมนี จึงสอนประวัติศาสตร์ยุคนาซีแก่เด็ก… ในฐานะบาดแผลและความทรงจำที่ชาติไม่มีสิทธิเสแสร้งลืม?
พิสูจน์ทุกคำถามถึงสิ่งดีงามที่มีอยู่จริงในโลกเจ็บปวดใบนี้ ในผลงานแซ่บซึ้งของผู้กำกับแสบสัน ไมเคิล มัวร์ (Bowling For Columbine, Fahrenheit 9/11) เรื่องนี้!
Where to Invade Next is an expansive, rib-tickling, and subversive comedy in which Moore, playing the role of “invader,” visits a host of nations to learn how the U.S. could improve its own prospects. The creator of Fahrenheit 9/11 and Bowling for Columbine is back with this hilarious and eye-opening call to arms. Turns out the solutions to America’s most entrenched problems already exist in the world—they’re just waiting to be co-opted.
รางวัล (Award)
ประเด็นสำคัญในหนัง
ไมเคิล มัวร์เดินทางไปยังหลากหลายประเทศในยุโรป เพื่อสำรวจนโยบายรัฐสวัสดิการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ได้แก่
พนักงานบริษัทได้สิทธิ์ลาหยุดงานหลายวันต่อปี แถมยังเก็บสะสมวันที่ไม่ได้ลาเอาไว้ใช้ปีต่อ ๆ ไปได้ด้วย ยิ่งกว่านั้นคือตลอดระยะเวลาที่ลาพักร้อนตามกฎหมาย บริษัทยังต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ นอกจากนั้นยังมีกฎหมายให้แม่ลาคลอดได้นาน พ่อลามาช่วยเลี้ยงลูกได้, คู่แต่งงานลาหยุดเพื่อไปฮันนีมูนได้, พนักงานมีเวลาพักกลางวันวันละ 2 ชั่วโมง เป็นต้น
หนังพาไปเยี่ยมโรงเรียนเล็ก ๆ ในเขตที่แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่อาหารกลางวันเด็กกลับอุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศและรสชาติอร่อย ขณะที่ห้องเรียนของเด็กวัยรุ่นมีการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษาอย่างเปิดกว้าง ครูสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ว่าต้องตั้งอยู่บนการให้เกียรติและคำนึงความรู้สึกของกันและกัน
เด็ก ๆ ฟินแลนด์ใช้เวลาเรียนแต่ละวันแค่ไม่กี่ชั่วโมง ครูไม่ให้การบ้านเพื่อให้เด็กมีเวลาเล่น คบหาเพื่อนฝูง และทำกิจกรรมที่มีความสุขตามวัย ครูทุกวิชาให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่มีความสุขและเคารพเด็ก
ในประเทศยุโรปตะวันออกแห่งนี้ รัฐมองว่าโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคือโอกาสที่ประชาชนทุกคนต้องได้เข้าถึง แม้แต่นักศึกษาจากต่างประเทศก็ได้รับสิทธิ์เรียนมหาวิทยาลัยฟรี
มัวร์พาเราไปดูความสุขของเหล่าคนงานในโรงงานที่นี่ ซึ่งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสังคมที่ให้เกียรติคนทำงาน ขณะที่โรงเรียนในเยอรมนีทุกวันนี้ก็มีการสอนให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ความผิดพลาดของประเทศชาติในยุคนาซีและเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เพื่อให้ทุกคนยอมรับอดีตและใช้มันเป็นแรงผลักดันในการไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
หลายประเทศในโลกใช้นโยบายรุนแรงเข้าปราบปรามหยุดยั้งปัญหายาเสพติด แต่โปรตุเกสทำตรงกันข้าม พวกเขาไม่ได้ลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้ยา แต่ช่วยรักษาด้วยแผนประกันสุขภาพและศูนย์บำบัดฟรี ตำรวจไม่ปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาอย่างเลวร้าย แต่ยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจ
คุกที่นอร์เวย์ไม่ได้มีไว้ข่มขู่ทำร้ายผู้กระทำผิด แต่เป็นสถานที่บำบัด ให้โอกาส และรื้อฟื้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่พวกเขา เพื่อจะคืนพวกเขากลับสู่สังคมในฐานะประชาชนที่มีคุณภาพ เมื่อนอร์เวย์เกิดเหตุกราดยิง สิ่งที่สังคมพยายามทำคือจับมือกัน ให้อภัย และเปลี่ยนกฎหมายให้ยิ่งเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
รัฐบาลสนับสนุนการทำแท้งถูกกฎหมาย มีคลินิกดูแลสุขภาพสตรีเพื่อช่วยให้ผู้หญิงดูแลตัวเอง มีสิทธิ์เหนือร่างกายตัวเอง และมีสิทธิ์ในสังคมเท่าเทียมผู้ชาย
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศนี้ผ่านมาได้ด้วยฝีมือของผู้บริหารหญิงและผู้นำหญิง พวกเธอดูแลประชาชนและประเทศด้วยความละเอียดอ่อนใส่ใจเหมือนดูแลครอบครัว ไอซ์แลนด์คือตัวอย่างของประเทศที่มองเห็นศักยภาพของผู้หญิงและมีวิสัยทัศน์สู่อนาคตอย่างแท้จริง
ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี
1. หลังจากดูจบแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง รู้สึกหมดหวังในประเทศตัวเอง หรือมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศของเราได้
2. ก่อนหน้านี้ไมเคิล มัวร์ทำหนังวิพากษ์วิจารณ์ประเทศของเขาเอง (สหรัฐอเมริกา) มาตลอด แล้วคิดว่าทำไมเรื่องนี้เขาจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีพูดถึงประเทศอื่น แทนที่จะวิจารณ์ความย่ำแย่ของประเด็นเดียวกันในนี้ประเทศของเขา คิดว่าวิธีการแบบนี้ดีไหม
3. ลองเลือกสักหนึ่งประเทศในหนังที่ชอบที่สุดหรือสนใจที่สุด แล้วคุยกันว่าทำไมเรื่องนั้น ๆ ถึงทำได้ดีในประเทศนั้น มันน่าจะเกิดจากเหตุผลอะไรบ้าง และประเด็นเดียวกันนี้เป็นอย่างไรในประเทศของเรา
4. พูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในเยอรมนี คิดว่าการที่นักเรียนต้องเรียนเรื่องดำมืดในอดีตแบบนี้มีความสำคัญไหม หรือเราควรจะลืมอดีตที่ไม่น่าจำแล้วมุ่งเดินหน้าไปสู่อนาคตดีกว่า
5. หนังนำเสนอเรื่องของผู้นำที่เป็นผู้หญิง ด้วยความเชื่อว่าหากผู้หญิงอยู่ในอำนาจมากกว่าผู้ชายแล้วล่ะก็ โลกนี้จะมีสงครามน้อยลง คุณคิดว่าอย่างไร มันน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงไหม
6. นอร์เวย์ไม่มีโทษประหารชีวิต แม้แต่ฆาตกรที่ก่ออาชญากรรมเลวร้ายก็รับโทษสูงสุดแค่ติดคุก คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
7. ประเทศของเรามีการเรียนเรื่องเพศศึกษาเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมในฝรั่งเศสถึงกล้าสอนแม้แต่เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ คุณคิดว่าควรมีแบบนี้ในประเทศเราบ้างไหม มันจะเป็นเรื่องดีหรือแย่กันแน่
8. หลังจากดูหนังแล้ว คุณคิดว่าอะไรคือ “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ที่เราทุกคนในสังคมควรได้รับจากรัฐ? การดูแลสุขภาพและการศึกษาควรเป็นสิ่งที่ทุกคนได้เข้าถึงเท่า ๆ กันจริงไหม / คุณคิดว่าคนทำงานควรจะได้หยุดปีละกี่วัน / ยุติธรรมไหมที่นายจ้างต้องจ่ายเงินแม้แต่ในวันที่ลูกน้องลาหยุด เพราะอะไร และอะไรอีกบ้างที่คุณอยากได้รับในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
สำรวจวิกฤติการณ์ “ล่าอาณานิคม 2.0” เมื่อผืนแผ่นดินและชีวิตคนตัวเล็กๆ ต้องตกอยู่ในความเสี่ยง จากการยึดครองเพื่อค้ากำไรของนักลงทุนและนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมทั่วโลก
“รัฐไม่เคยเยียวยาวงการศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นผมจะไม่หักหลังเพื่อนพ้องร่วมอาชีพ ด้วยการไปแอ่นอกให้รัฐติดเข็มเชิดชูหรอก!”
สารคดีเรื่องราวแห่งการสู้ยิบตาของ เจน เจคอบส์ ไอดอลขวัญใจนักออกแบบเมืองทั่วโลก
เมื่ออดีตนักศึกษากฎหมายจากเยลวัย 32 ปีตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซี และได้เรียนรู้การเมืองบนท้องถนน, ความหมายของประชาธิปไตย และพลังพลเมืองที่แท้จริง
จากหมู่บ้านในโคราช สู่พัทยา สมหมายได้พบ “นีลส์” ชายวัยกลางคนชาวเดนมาร์กผู้ยอมรับว่า เขามาเพื่อเก็บเกี่ยวความสุขจากการท่องเที่ยว แต่สิ่งที่เขาไม่เคยคาดเดาได้ล่วงหน้าก็เกิดขึ้น เขาตกหลุมรักผู้หญิงคนนี้ ที่กลายมาเป็นภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของเขาในที่สุด
บทพิสูจน์พลังแห่ง “วารสารศาสตร์” เมื่อชาวบ้านลุกขึ้นสู้ความโหดร้ายของ ISIS โดยมีเพียงความจริงและอินเทอร์เน็ตเป็นอาวุธ!
31 มีนาคม 2018 “นิโคล ปาชินเนียน” อดีตนักข่าวและสส. ประกาศลงเฟซบุ๊กไลฟ์ว่า เขาจะเริ่มต้นการเดินเท้าประท้วงเป็นเวลา 14 วัน เพื่อยับยั้งแผนการครองอำนาจสมัยที่ 3 ของปธน. เผด็จการ แซร์ช ซาร์กซียัน แห่งอาร์เมเนียให้ได้
ในสมรภูมิสื่อที่ครอบครองโดยผู้ชายมาช้านาน หนังสือพิมพ์และสำนักข่าวเล็ก ๆ ชื่อ “คาบาร์ลาฮารียา” ผงาดขึ้นสร้างปรากฏการณ์ใหม่อย่างอาจหาญ
เมื่อแบรนด์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ไล่ลูกจ้างออกอย่างสุดเอาเปรียบ และนักข่าวหนุ่มตัวแสบผู้รักความยุติธรรมไม่อาจทนดูได้ …ปฏิบัติการสุดเจ้าเล่ห์เพื่อ “เอาคืน” จึงต้องบังเกิด!
ระหว่างการถูกกักบริเวณในบ้านที่ปักกิ่ง “อ้ายเว่ยเว่ย” ศิลปินจีนผู้โด่งดังได้จัดแสดงงานชิ้นสำคัญขึ้นที่อดีตคุก “อัลคาทราซ” โดยผู้เยี่ยมชมจะสามารถเขียนข้อความส่งกำลังใจให้แก่เหล่านักกิจกรรมที่ถูกจับกุมทั่วโลก
ล้วงลึกตัวตนและความคิดของสมาชิกกลุ่ม “Anonymous” แฮ็กติวิสต์สุดทรงอิทธิพล
เมื่อความไม่เท่าเทียมส่งผลให้ผู้คนโกรธแค้น การประท้วงและการถูกปราบปรามอย่างรุนแรงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริงของ “ความรุนแรง” และใครกันแน่ที่มีสิทธิ์ใช้มัน?
subscribe to newsletter to stay up to date with our films & events