ผู้กำกับ Collective เมินรัฐ-ปฏิเสธรางวัลแห่งชาติ!
“รัฐไม่เคยเยียวยาวงการศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นผมจะไม่หักหลังเพื่อนพ้องร่วมอาชีพ ด้วยการไปแอ่นอกให้รัฐติดเข็มเชิดชูหรอก!”
ชื่อไทย : บุกให้แหลก แหกตาดูโลก
120 นาที / สหรัฐอเมริกา / 2015 / กำกับ: ไมเคิล มัวร์ / เรต: 13+
2h / USA / 2015 / Director: Michael Moore / Certificate: 13+
จะมัวหดหู่สิ้นหวังไปไย
ป๋าไมเคิลอาสาพาไปบุกโลกกว้าง
พิสูจน์กันให้มันกระจ่าง
ประเทศดีๆ เค้าสร้างคุณภาพชีวิตกันยังไง?!
…ไฉนนายจ้างอิตาลีจึงบอกว่า ถ้าข้าได้เที่ยวสบาย ลูกจ้างก็ต้องได้เที่ยวสบายไม่แพ้กัน?
…เหตุใดโรงเรียนฝรั่งเศส จึงลงทุนคัดสรรอาหารเที่ยงชั้นดีให้เด็กกิน?
…ทำอย่างไรฟินแลนด์ จึงทะยานสู่การเป็นเจ้าของการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก?
…ทำไมรัฐบาลสโลวีเนีย ต้องให้นักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยฟรี?
…เพราะอะไรครูเยอรมนี จึงสอนประวัติศาสตร์ยุคนาซีแก่เด็ก… ในฐานะบาดแผลและความทรงจำที่ชาติไม่มีสิทธิเสแสร้งลืม?
พิสูจน์ทุกคำถามถึงสิ่งดีงามที่มีอยู่จริงในโลกเจ็บปวดใบนี้ ในผลงานแซ่บซึ้งของผู้กำกับแสบสัน ไมเคิล มัวร์ (Bowling For Columbine, Fahrenheit 9/11) เรื่องนี้!
Where to Invade Next is an expansive, rib-tickling, and subversive comedy in which Moore, playing the role of “invader,” visits a host of nations to learn how the U.S. could improve its own prospects. The creator of Fahrenheit 9/11 and Bowling for Columbine is back with this hilarious and eye-opening call to arms. Turns out the solutions to America’s most entrenched problems already exist in the world—they’re just waiting to be co-opted.
รางวัล (Award)
ประเด็นสำคัญในหนัง
ไมเคิล มัวร์เดินทางไปยังหลากหลายประเทศในยุโรป เพื่อสำรวจนโยบายรัฐสวัสดิการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ได้แก่
พนักงานบริษัทได้สิทธิ์ลาหยุดงานหลายวันต่อปี แถมยังเก็บสะสมวันที่ไม่ได้ลาเอาไว้ใช้ปีต่อ ๆ ไปได้ด้วย ยิ่งกว่านั้นคือตลอดระยะเวลาที่ลาพักร้อนตามกฎหมาย บริษัทยังต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ นอกจากนั้นยังมีกฎหมายให้แม่ลาคลอดได้นาน พ่อลามาช่วยเลี้ยงลูกได้, คู่แต่งงานลาหยุดเพื่อไปฮันนีมูนได้, พนักงานมีเวลาพักกลางวันวันละ 2 ชั่วโมง เป็นต้น
หนังพาไปเยี่ยมโรงเรียนเล็ก ๆ ในเขตที่แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่อาหารกลางวันเด็กกลับอุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศและรสชาติอร่อย ขณะที่ห้องเรียนของเด็กวัยรุ่นมีการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษาอย่างเปิดกว้าง ครูสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ว่าต้องตั้งอยู่บนการให้เกียรติและคำนึงความรู้สึกของกันและกัน
เด็ก ๆ ฟินแลนด์ใช้เวลาเรียนแต่ละวันแค่ไม่กี่ชั่วโมง ครูไม่ให้การบ้านเพื่อให้เด็กมีเวลาเล่น คบหาเพื่อนฝูง และทำกิจกรรมที่มีความสุขตามวัย ครูทุกวิชาให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่มีความสุขและเคารพเด็ก
ในประเทศยุโรปตะวันออกแห่งนี้ รัฐมองว่าโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคือโอกาสที่ประชาชนทุกคนต้องได้เข้าถึง แม้แต่นักศึกษาจากต่างประเทศก็ได้รับสิทธิ์เรียนมหาวิทยาลัยฟรี
มัวร์พาเราไปดูความสุขของเหล่าคนงานในโรงงานที่นี่ ซึ่งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสังคมที่ให้เกียรติคนทำงาน ขณะที่โรงเรียนในเยอรมนีทุกวันนี้ก็มีการสอนให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ความผิดพลาดของประเทศชาติในยุคนาซีและเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เพื่อให้ทุกคนยอมรับอดีตและใช้มันเป็นแรงผลักดันในการไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
หลายประเทศในโลกใช้นโยบายรุนแรงเข้าปราบปรามหยุดยั้งปัญหายาเสพติด แต่โปรตุเกสทำตรงกันข้าม พวกเขาไม่ได้ลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้ยา แต่ช่วยรักษาด้วยแผนประกันสุขภาพและศูนย์บำบัดฟรี ตำรวจไม่ปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาอย่างเลวร้าย แต่ยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจ
คุกที่นอร์เวย์ไม่ได้มีไว้ข่มขู่ทำร้ายผู้กระทำผิด แต่เป็นสถานที่บำบัด ให้โอกาส และรื้อฟื้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่พวกเขา เพื่อจะคืนพวกเขากลับสู่สังคมในฐานะประชาชนที่มีคุณภาพ เมื่อนอร์เวย์เกิดเหตุกราดยิง สิ่งที่สังคมพยายามทำคือจับมือกัน ให้อภัย และเปลี่ยนกฎหมายให้ยิ่งเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
รัฐบาลสนับสนุนการทำแท้งถูกกฎหมาย มีคลินิกดูแลสุขภาพสตรีเพื่อช่วยให้ผู้หญิงดูแลตัวเอง มีสิทธิ์เหนือร่างกายตัวเอง และมีสิทธิ์ในสังคมเท่าเทียมผู้ชาย
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศนี้ผ่านมาได้ด้วยฝีมือของผู้บริหารหญิงและผู้นำหญิง พวกเธอดูแลประชาชนและประเทศด้วยความละเอียดอ่อนใส่ใจเหมือนดูแลครอบครัว ไอซ์แลนด์คือตัวอย่างของประเทศที่มองเห็นศักยภาพของผู้หญิงและมีวิสัยทัศน์สู่อนาคตอย่างแท้จริง
ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี
1. หลังจากดูจบแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง รู้สึกหมดหวังในประเทศตัวเอง หรือมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศของเราได้
2. ก่อนหน้านี้ไมเคิล มัวร์ทำหนังวิพากษ์วิจารณ์ประเทศของเขาเอง (สหรัฐอเมริกา) มาตลอด แล้วคิดว่าทำไมเรื่องนี้เขาจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีพูดถึงประเทศอื่น แทนที่จะวิจารณ์ความย่ำแย่ของประเด็นเดียวกันในนี้ประเทศของเขา คิดว่าวิธีการแบบนี้ดีไหม
3. ลองเลือกสักหนึ่งประเทศในหนังที่ชอบที่สุดหรือสนใจที่สุด แล้วคุยกันว่าทำไมเรื่องนั้น ๆ ถึงทำได้ดีในประเทศนั้น มันน่าจะเกิดจากเหตุผลอะไรบ้าง และประเด็นเดียวกันนี้เป็นอย่างไรในประเทศของเรา
4. พูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในเยอรมนี คิดว่าการที่นักเรียนต้องเรียนเรื่องดำมืดในอดีตแบบนี้มีความสำคัญไหม หรือเราควรจะลืมอดีตที่ไม่น่าจำแล้วมุ่งเดินหน้าไปสู่อนาคตดีกว่า
5. หนังนำเสนอเรื่องของผู้นำที่เป็นผู้หญิง ด้วยความเชื่อว่าหากผู้หญิงอยู่ในอำนาจมากกว่าผู้ชายแล้วล่ะก็ โลกนี้จะมีสงครามน้อยลง คุณคิดว่าอย่างไร มันน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงไหม
6. นอร์เวย์ไม่มีโทษประหารชีวิต แม้แต่ฆาตกรที่ก่ออาชญากรรมเลวร้ายก็รับโทษสูงสุดแค่ติดคุก คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
7. ประเทศของเรามีการเรียนเรื่องเพศศึกษาเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมในฝรั่งเศสถึงกล้าสอนแม้แต่เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ คุณคิดว่าควรมีแบบนี้ในประเทศเราบ้างไหม มันจะเป็นเรื่องดีหรือแย่กันแน่
8. หลังจากดูหนังแล้ว คุณคิดว่าอะไรคือ “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ที่เราทุกคนในสังคมควรได้รับจากรัฐ? การดูแลสุขภาพและการศึกษาควรเป็นสิ่งที่ทุกคนได้เข้าถึงเท่า ๆ กันจริงไหม / คุณคิดว่าคนทำงานควรจะได้หยุดปีละกี่วัน / ยุติธรรมไหมที่นายจ้างต้องจ่ายเงินแม้แต่ในวันที่ลูกน้องลาหยุด เพราะอะไร และอะไรอีกบ้างที่คุณอยากได้รับในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
“รัฐไม่เคยเยียวยาวงการศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นผมจะไม่หักหลังเพื่อนพ้องร่วมอาชีพ ด้วยการไปแอ่นอกให้รัฐติดเข็มเชิดชูหรอก!”
สารคดีเรื่องราวแห่งการสู้ยิบตาของ เจน เจคอบส์ ไอดอลขวัญใจนักออกแบบเมืองทั่วโลก
“โรงเรียนเตรียมอนุบาลเอบีซี” คือศูนย์รับดูแลเด็กเล็กที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงในโอคุโบะ โตเกียว เพื่อให้บริการแก่เหล่าพ่อแม่คนทำงานกลางเมืองที่ประสบปัญหาการเลี้ยงลูกแตกต่างกันไป
สำรวจวิกฤติการณ์ “ล่าอาณานิคม 2.0” เมื่อผืนแผ่นดินและชีวิตคนตัวเล็กๆ ต้องตกอยู่ในความเสี่ยง จากการยึดครองเพื่อค้ากำไรของนักลงทุนและนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมทั่วโลก
เรื่องราวหลากหลายแง่มุมสุดท้าทายของผลงาน “แบงค์ซี” สตรีตอาร์ตที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นงานเถื่อนใต้ดิน แต่กลับกลายผันตัวเป็นงานราคาแพงหูฉี่ที่ถูกค้าขายกันในตลาดมืดอย่างน่ากังขา
งานจำนวนมากที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้จะสูญหายไปภายในเวลาไม่กี่สิบปี เมื่อถึงวันที่เทคโนโลยีและเอไอเข้ามาแทนที่แล้วมนุษย์ไม่มีงานทำ …เราจะมีชีวิตกันต่อไปอย่างไร?
เมื่อแบรนด์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ไล่ลูกจ้างออกอย่างสุดเอาเปรียบ และนักข่าวหนุ่มตัวแสบผู้รักความยุติธรรมไม่อาจทนดูได้ …ปฏิบัติการสุดเจ้าเล่ห์เพื่อ “เอาคืน” จึงต้องบังเกิด!
หลังรัฐประหารในเมียนมา ชีวิตผู้คนที่นั่นกลายเป็นเรื่องเร้นลับ กลุ่ม Myanmar Film Collective จึงก่อตั้งขึ้นโดยคนทำหนังรุ่นเยาว์ไม่เปิดเผยนาม เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของชาวเมียนมาด้วยวิธีเลือนเส้นแบ่งระหว่างความจริงกับเรื่องแต่ง
สารคดีเรื่องนี้พาเราไปเฝ้าดูความใส่ใจทุ่มเทอย่างจริงจังของเหล่าพนักงานและอาสาสมัคร ซึ่งมุ่งหวังฝึกฝนให้สัตว์เลี้ยงตัวจ้อยไร้บ้านได้รับการฟื้นฟูและเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสที่จะได้กลับไปอยู่กับมนุษย์คนใหม่
สังเกตการณ์ใกล้ชิดกับเรื่องราวหลากชีวิตของผู้คนในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ที่พึ่งทางใจและกายแห่งสุดท้ายของผู้ป่วยผู้ยากไร้
หนังเดือดพล่านที่ไมเคิล มัวร์ค้นหาคำตอบว่า อเมริกามาถึงจุดที่เลือกโดนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีได้อย่างไร และด้วยวิธีไหนจึงจะหลุดพ้นจากยุคสมัยดำมืดนี้ไปได้?
อานเญส วาร์ดา คนทำหนังวัย 89 กับ เจอาร์ ช่างภาพ-ศิลปินวัย 33 ทั้งสองลุ่มหลงเสน่ห์ของ “ภาพ” มาทั้งชีวิตเหมือนกัน จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อทั้งคู่ตัดสินใจออกเดินทางสร้างงานศิลปะด้วยกัน บนความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ และต่อโลกที่คละเคล้าด้วยความสุขและความเศร้าใบนี้
Movies Matter Co.,Ltd / THAILAND
© All Rights Reserved 2024
subscribe to newsletter to stay up to date with our films & events