Ask Dr. Ruth
ชีวิตอันแสนมหัศจรรย์ของ ดร.รูธ เวสต์ไฮเมอร์ ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่เป็นผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลายมาเป็นผู้บุกเบิกรายการ “ตอบปัญหาทางเพศ” ให้กับสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในอเมริกา
ชื่อไทย : ครอบครัวของฉัน
85 นาที / ออสเตรเลีย / 2015 / กำกับ: มายา นีเวลล์ / เรต : ทั่วไป
1h 25min / Australia / 2015 / Director: Maya Newell / G
…”เราไม่เหมือนคนอื่น เรามันผิดปกติ ในหัวหนูมีแต่คำนี้”
…”ผมกำลังโต ใครๆก็บอกว่าผู้ชายต้องแกร่งต้องล่ำ แต่ผมเองก็ไม่รู้ว่าความเป็นชายคืออะไรกันแน่”
…”คงไม่เป็นไรถ้าผมจะโกหกใครๆ เรื่องมีพ่อสองคน บางครั้งการโกหกก็เป็นเรื่องที่ดี”
…”ผมไม่นับถือพระเจ้า เพราะพระที่โบสถ์บอกว่าสิ่งที่แม่ผมเป็นนั้นมันบาป”
เอโบนี่, กัส, แกรห์ม และแม็ตต์ เป็นเด็กหญิงและชายวัย 11-12 ปีผู้อึงอลด้วยความสงสัยสับสนเหล่านี้ในจิตใจ และในวันเวลาที่ผู้คนมากมายถกเถียงกันหนักหน่วงว่า ครอบครัวต้องประกอบด้วยชายจริงหญิงแท้เท่านั้น? คู่รักเพศเดียวกันไม่มีวันเป็นพ่อแม่ที่ดีได้? อะไรกันแน่คือนิยามที่แท้จริงของคำว่า “ครอบครัว?” …นี่เป็นครั้งแรกที่เราจะได้ยินเด็กๆ -ผู้ยืนอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งเหล่านั้น- เปล่งความคิดของพวกเขาผ่านเสียงของพวกเขาเอง
An Australian feature documentary in which four kids who take us into their homes and share what it’s like growing up with same-sex parents. The film takes an intimate, character-driven approach to issues at the heart of modern social politics: family, gender, sexuality, parenting and youth; skewering some of the most hotly debated contemporary issues with rarely heard voices that work to cut-through the saturation of political rhetoric – the voices of the kids.
รางวัล (Award)
ประเด็นสำคัญในหนัง
นิยามของ “ครอบครัวสมัยใหม่”
ในยุคสมัยใหม่นี้ เราไม่สามารถนิยามอย่างตายตัวได้อีกต่อไปว่า ครอบครัวแบบไหนจึงจะถือว่า “ปกติ” เพราะแต่ละครอบครัวล้วนมีรายละเอียดแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่มีพ่อแม่เป็นคนเพศเดียวกัน คนต่างสีผิว บ้านที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว บ้านที่ไม่มีพ่อแม่แต่มีคนอื่นเป็นหัวหน้าครอบครัว ฯลฯ สารคดีเรื่องนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าครอบครัวปัจจุบันนี้สามารถประกอบขึ้นได้หลายลักษณะ และสิ่งที่จะทำให้มันถูกเรียกว่า “ครอบครัว” ได้นั้นไม่ใช่เพียงรูปลักษณ์ภายนอก แต่คือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในต่างหาก
การทำลายภาพเหมารวมของ “เพศ”
เราพบประเด็นนี้ได้ชัดที่สุดในเรื่องของ “กัส” เด็กวัย 10 ปีที่โตมากับแม่สองคน เขาคลั่งไคล้กีฬามวยปล้ำมากและเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เห็นบนจอนั้นคือนิยามของการเป็นลูกผู้ชาย แต่แม่ของเขาเห็นแย้งกับความคิดนี้ และพร้อมๆ กันนั้นสภาพครอบครัวของเขาก็ทำให้เขาเกิดความสับสนด้วยว่า ความเป็นชายและหญิงคืออะไรกันแน่ นิยามความเป็นเพศที่เขาได้เห็นจากสื่อทั้งหลายคือความจริงหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ทำให้กัสได้เรียนรู้ที่จะทำลายความคิดเหมารวมทางเพศลง
การค้นหาคุณค่าและอัตลักษณ์ของวัยรุ่น
เรื่องของ “อีโบนี่” เด็กวัย 12 ที่มีแม่สองคนเป็นตัวอย่างชัดเจนของประเด็นนี้ เธอฝันอยากเป็นนักร้อง แต่ก็ต้องพบข้อจำกัดของตัวเอง นอกจากนั้นเธอยังมีปัญหากับการต้องอยู่ในชุมชนซึ่งไม่ยอมรับรสนิยมทางเพศของแม่ และยังต้องรับมือกับอาการเจ็บป่วยของน้องชายไปด้วยพร้อมกัน อุปสรรคเหล่านี้ทำให้อีโบนี่เกิดความขมขื่นต่อชีวิตวัยรุ่น แต่ด้วยการประคับประคองและความรักของครอบครัวก็ค่อย ๆ ช่วยให้เธอคลี่คลาย เรียนรู้การรับมือกับความผิดหวัง และค้นพบที่ทางของตนเองได้ทีละน้อย
ส่วนในเรื่องของ “แกรห์ม” เด็กวัย 11 ปี เราก็ได้เห็นเขาพยายามฝ่าฟันเอาชนะปัญหาในการอ่านและพูด โดยมีพ่อคอยสนับสนุนและยืนกรานให้เขามุ่งมั่นกับมัน แม้จะเบื่อหน่ายและหลายครั้งก็อยากยอมแพ้
การยอมรับและปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างหลากหลาย
แกรห์มอยู่ในครอบครัวที่มีพ่อบุญธรรมสองคน และทุกอย่างยิ่งซับซ้อนขึ้นเมื่อพ่อต้องย้ายครอบครัวไปทำงานในฟิจิซึ่งเป็นสังคมอนุรักษ์นิยม พ่อจึงตัดสินใจจะปิดบังความเป็นจริงไว้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา แกรห์มต้องเรียนรู้การพยายามปรับตัวในสังคมที่แตกต่างนี้ และโชคดีที่เขามีครูซึ่งเปิดใจกว้างยอมรับครอบครัวของเขาอย่างที่เป็น
เช่นเดียวกับเรื่องของ “แม็ตต์” เด็กวัย 11 ปีที่มีแม่สองคนซึ่งพาเขาเข้าโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ เขาสนใจคำสอนทางศาสนา แต่บาทหลวงกลับพูดว่าความรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดบาป ขณะเดียวกันเขากับแม่ยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อสู้เรียกร้องให้รัฐยอมรับการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน ทำให้แม็ตต์เกิดความรู้สึกขัดแย้งระหว่างความเชื่อทางศาสนาและความจริงที่เขาพบเห็นในชีวิตประจำวันว่าอะไรแน่คือคำตอบ
ความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนฐานของการสนับสนุนกัน ไว้วางใจกัน และให้เกียรติกัน
เรื่องราวของทุกครอบครัวในสารคดีเรื่องนี้เป็นภาพสะท้อนธีมดังกล่าวชัดเจนที่สุด เราได้เห็นปัญหาทั้งระดับปัจเจกและสังคมเกิดกับทุกบ้าน แต่การพยายามยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ให้เกียรติกัน หาหนทางอยู่ร่วมกัน และคอยช่วยเหลือสนับสนุนกันในด้านต่าง ๆ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แต่ละคนสามารถฝ่าฟันอุปสรรคแต่ละขั้นของชีวิต ได้เรียนรู้ เติบโต และค้นพบคุณค่าของตนเองได้ในที่สุด
ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี
1. หลังจากได้ดูเรื่องราวของครอบครัวต่าง ๆ ในหนังแล้ว มีเรื่องอะไรหรือฉากไหนบ้างที่ทำให้รู้สึกแปลกใจ สงสัย หรือสนใจเป็นพิเศษ
2. เด็ก ๆ ในหนังทุกคนเจอปัญหาสำคัญของตัวเอง (เช่น แกรห์มมีปัญหากับการอ่านหนังสือไม่คล่อง และเมื่อย้ายไปฟิจิก็ยังต้องพยายามช่วยพ่อปิดบังเรื่องครอบครัวไม่ให้เพื่อนรู้, อีโบนี่มีความทุกข์เพราะอยากร้องเพลง แต่ก็ไม่เก่งพอ แถมยังต้องช่วยแม่ดูแลน้องที่ป่วย, กัสอยากดูมวยปล้ำ แต่แม่ไม่อนุญาตเพราะคิดว่ามันจะสอนให้เขาเข้าใจความเป็นผู้ชายแบบผิด ๆ, แม็ตต์เครียดกับคำสอนของบาทหลวงที่เขาเคารพ ซึ่งชอบบอกว่าแม่ของเขาทำบาป) คุณคิดว่าแต่ละคนรับมือกับปัญหาของตัวเองอย่างไร และผ่านมันมาได้เพราะอะไรบ้าง
3. คุณเคยมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่หรือโรงเรียนใหม่แบบที่อีโบนี่เจอมั้ย แล้วทำอย่างไร
4. คุณคิดว่าเด็กผู้ชาย-เด็กผู้หญิงต้องเป็นยังไง ต้องทำตัวแบบไหนถึงจะ “สมกับเป็นผู้ชาย” หรือ “สมกับเป็นผู้หญิง” ทำไมถึงคิดแบบนั้น ใครทำให้คุณเชื่อแบบนั้น
5. มีอะไรบ้างที่คุณเคยคิดว่าผู้หญิงทำไม่ได้ หรือผู้ชายทำไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วทำได้
6. ถ้าคุณเจอคนที่เชื่อไม่เหมือนคุณเลย (แบบเดียวกับที่กัสเจอบาทหลวง) คุณจะหาวิธีพูดคุยสื่อสารกับเขายังไงให้เขายอมรับสิ่งที่คุณเป็น และคุณอยากให้เขาทำยังไงเพื่อให้คุณยอมรับสิ่งที่เขาเป็นด้วยเหมือนกัน
7. ในชีวิตจริง คุณเคยเจอครอบครัวไหนบ้างที่ไม่ได้เป็นเหมือน “นิยามครอบครัวปกติ” แบบที่คุ้นเคย (เช่น ไม่ได้มีพ่อแม่เป็นชายหญิง ไม่ได้มีพ่อแม่ครบ ฯลฯ) แล้วคุณคิดว่าพวกเขาเป็นยังไงบ้าง
ชีวิตอันแสนมหัศจรรย์ของ ดร.รูธ เวสต์ไฮเมอร์ ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่เป็นผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลายมาเป็นผู้บุกเบิกรายการ “ตอบปัญหาทางเพศ” ให้กับสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในอเมริกา
ปี 1928 เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เขียน Orlando ซึ่งเป็นนิยายเรื่องแรกที่ตัวละครเอกเปลี่ยนเพศกลางเรื่อง หนึ่งศตวรรษต่อมา พอล บี พรีซิอาโด นักเขียนและนักเคลื่อนไหวทรานส์เขียนจดหมายในรูปแบบภาพยนตร์ส่งถึงวูลฟ์ ว่า บัดนี้ “ออร์แลนโด” ได้ก้าวสู่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว
สารคดีที่นักข่าวสาว “ชิโอริ อิโตะ” บันทึกความเจ็บปวดและการต่อสู้ของเธอเอง หลังจากเธอช็อกคนทั้งประเทศญี่ปุ่นด้วยการเปิดเผยว่าเธอถูกข่มขืนโดยนักข่าวรุ่นใหญ่ผู้ทรงอิทธิพล และสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เธอไม่มีทางเลือกนอกจากเปิดหน้าสู้เพื่อผลักดันให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศอันล้าสมัย
Movies Matter Co.,Ltd / THAILAND
© All Rights Reserved 2024
subscribe to newsletter to stay up to date with our films & events