นิราศกรุงเกลือ (Krungkluea)

ปี 2018 / ความยาว 90 นาที / กำกับภาพยนตร์ : ณัฐนันท์ เทียมเมฆ
Director(s) : Natthanun Tiammek

นักแสดง / Cast - บทสถาพร : พิสุทธ์ เอื้อธรรมกุล / Pisut Ueathamkun - บทสิรินาถ : กนกนาถ มีพร้อม / Kanoknat Meeprom - บทเกศรา : คณัสนันท์ ทองอยู่ / Kanatsanan Thongyu - บทขันธ์ : วีระศักดิ์ บุญเชิด / Weerasak Boonchert

สถาพร ครูวรรณคดีผู้ติดอยู่กับพันธะและความจริงที่ว่าสิรินาถ ภรรยาของเขาตั้งครรภ์ ทำให้ไม่สามารถมีเซ็กส์ได้ตามต้องการ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสถาพรเลือกทิ้งภรรยาไว้ หนีออกมาจากชีวิตเก่า และได้พบกับเส้นทางสู่ “กรุงเกลือ” เมืองแห่งสรวงสวรรค์ในวรรณคดีที่เกิดขึ้นจริง ในระหว่างการเดินทางของเขา…

Sathaporn, a literature teacher, is joined by the bond and needs to accept the truth that Sirinarth, his pregnant wife, cannot have sex as much as he desires. What will happen if he decides to leave his lover behind, escape his old life and accidentally find the path to Krungkluea, a heaven in the literature, which becomes realistic during his journey.

DIRECTOR STATEMENT

แน่นอนว่าแรงบันดาลใจของภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งภาพความฝันอันเลือนลาง, ศิลปะวัฒนธรรมแบบไทยๆ, เรื่องราวของเพื่อนๆ ที่ถูกนำมาปะติดปะต่อกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กระแสสังคม “Me too” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่บทภาพยนตร์ “นิราศกรุงเกลือ” ถูกเขียน

ด้วยเหตุนี้เอง ความทรงจำในอดีตจึงถูกดึงกลับมาอีกครั้ง ทั้งที่มันควรจะอยู่ในจุดที่ลึกที่สุด ซึ่งสำหรับผม แม้ว่ามันจะไม่ใช่ความทรงจำที่ดี แต่การได้สะท้อนเรื่องราวเหล่านั้นลงบนภาพยนตร์ “สิ่งที่ผมรักที่สุด” มันก็คุ้มค่าที่จะลองทำ!

นี่จึงเป็นที่มาของ “นิราศกรุงเกลือ” / Me too ในแบบฉบับของผม ซึ่งเต็มไปด้วยบทบาทของ “ผู้กระทำ” และ “ผู้ถูกกระทำ” อันเป็นปัจจัยสำคัญของ “การคุกคามทางเพศ” ที่ส่งผลกระทบต่อใครหลายๆ คน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถละเลยหรือมองข้ามได้ แม้จะมั่นใจมากๆ ว่า เราแก้ไขอะไรไม่ได้เลยก็ตาม แต่ลึกๆ สิ่งที่ผมอยากจะทำก็คือ ระบายความในใจออกมา… เท่านั้นเอง

ท้ายที่สุด ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันฝ่าอุปสรรคด้วยกันมาจนถึงวันนี้ ขอบคุณคนที่รักที่คอยอยู่เคียงข้างกัน และขอโทษด้วยที่ไม่ได้เล่าเรื่องนี้ให้ฟังเร็วกว่านี้
 


– ณัฐนันท์ (กัญจน์) เทียมเมฆ ผู้กำกับ

more

UNZIPPED : An Autopsy of American Inequality

สารคดีตีแผ่วิกฤตที่อยู่อาศัย โดยเจาะลึกลงไปยังย่าน “เวนิซ 90291” ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเคยเป็นดังสวรรค์สำหรับศิลปิน คนนอก และชุมชนคนผิวดำ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของปัญหาคนเร่ร่อนไร้บ้าน

ไกลบ้าน (AWAY)

หลังรัฐประหารปี 2557 วัฒน์ วรรลยางกูร ถูกหมายเรียกและตัดสินใจลี้ภัยออกนอกประเทศ นับจากนั้นนิยามของคำว่าบ้านก็กลายเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล และต้องใช้ความหวังอย่างมากในการเฝ้ารอให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง

THE KLEPTOCRATS

“1MDB” หรือ 1Malaysia Development Berhad เป็นบริษัทที่รัฐบาลมาเลเซียจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศ แต่เมื่อมันส่อแววไม่โปร่งใสและข้อมูลทั้งหลายถูกปกปิด จากกองทุนมูลค่ามหาศาลที่เป็นความหวังของคนทั้งประเทศ กลับกลายเป็นการคอร์รัปชันครั้งมโหฬารที่ฉาวกระฉ่อนไปทั้งโลก!

ครั้งหนึ่ง บงจุนโฮและซงคังโฮเคยถูกขึ้น “บัญชีดำ” และบัญชีดำนี้นำไปสู่การถอดถอนประธานาธิบดี!

กว่าจะกลายมาเป็นคนทำหนังและนักแสดงระดับโลกดังที่เราเห็นในวันนี้ ทั้งคู่และเพื่อนอีกหลายชีวิตในวงการหนังเกาหลีใต้เคยผ่านช่วงเวลาแห่งการต่อสู้อันยากลำบากมาก่อน นี่อาจเป็นอีกหนึ่งข้อยืนยันชัดเจนว่า ความสำเร็จยิ่งใหญ่ของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายดายด้วยความบังเอิญ!

AILO’S JOURNEY – THE AMAZING ODYSSEY OF A NEWBORN REINDEER

ร่วมผจญภัยใน “แลปแลนด์” ดินแดนแห่งความงดงาม ไปกับลูกกวางเรนเดียร์ผู้ต้องต่อสู้ท่ามกลางสภาพธรรมชาติอันทั้งยิ่งใหญ่และโหดร้ายเพื่อจะรอดชีวิตให้ได้ในขวบปีแรก

The Great Museum

สารคดีที่ใช้เวลากว่าสองปีในการถ่ายทำที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ Kunsthistorisches Museum ในเวียนนา ด้วยสไตล์แบบ direct cinema โดยเฝ้าสังเกตการตระเตรียมพิพิธภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบที่สุดของคนทำงานฝ่ายต่าง ๆ

Oasis

‘ฮงจงดู’ เพิ่งพ้นโทษจากคุกและติดต่อครอบครัวของชายที่ตายเพราะน้ำมือเขา ในบ้านหลังนั้น เขาได้พบ ‘ฮันกงจู’ หญิงสาวที่เป็นอัมพาตเพราะโรคสมองพิการ ท่ามกลางสังคมที่ไม่เข้าใจและครอบครัวที่ไม่ยอมรับ ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างคนนอกสองคนเริ่มก่อตัวขึ้น

Overseas

สำหรับผู้หญิงจำนวนมากในฟิลิปปินส์ การไปทำงานเป็นคนรับใช้ในต่างประเทศคือทางออกของชีวิตที่ขัดสน และในอันจะบรรลุซึ่งเป้าหมายนั้น พวกเธอจะต้องทุ่มเทให้แก่การฝึกฝนใน “โรงเรียนแม่บ้าน” ซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายในประเทศ