THE HUNTING GROUND

their dream school
will become a nightmare

ชื่อไทย : ชมรมล่าหญิง
103 นาที / สหรัฐอเมริกา / 2015 / กำกับ: เคอร์บี ดิค / เรต : ทั่วไป
1h 43min / USA-UK / 2015 / Director: Kirby Dick / G

20% ของนักศึกษาหญิงในสหรัฐอเมริกา เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัย
และ…88% ของพวกเธอ ตัดสินใจไม่รายงานให้ผู้บริหารสถาบันรับรู้
เพราะ…”สิ่งที่มหาวิทยาลัยจะปกป้องเป็นสิ่งแรก ไม่ใช่นักศึกษาหรอก พวกเขาปกป้องแบรนด์ตัวเองต่างหาก”
แต่…อย่าคิดว่าพวกเธอและเขาจะต้องเป็นฝ่ายปิดปากเงียบแล้วยอมรับความไม่ยุติธรรมอยู่ร่ำไป… “ในเมื่อสถาบันไม่แยแส เราจึงต้องแสดงให้เห็นว่า เด็กอายุแค่ 20 อย่างเราก็เล่นงานมหา’ลัยอายุ 200 ได้!”

“The Hunting Ground : ชมรมล่าหญิง” หนังสารคดีสุดอื้อฉาวแห่งปีที่ตีแผ่ปัญหาความรุนแรงทางเพศและการปกปิดความจริงในสถาบันอุดมศึกษาทั่วสหรัฐอเมริกา ติดตามการต่อสู้ของนักศึกษาหญิงผู้ไม่ยอมจำนนในฐานะเหยื่ออีกต่อไป และตัดสินใจก้าวออกมาเปิดเผยตัวแม้จะต้องแลกด้วยการถูกดูแคลนจากทั้งเหล่าผู้บริหารและเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน …การต่อสู้อย่างกล้าหาญของพวกเธอไม่เพียงสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คน แต่ยังส่งผลสะเทือนเหล่าสถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติครั้งยิ่งใหญ่ ผลงานชิงออสการ์สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม (Til It Happens to You โดย ไดแอน วอร์เรน และ เลดี้ กาก้า) และผลงานกำกับของ เคอร์บี้ ดิค (ชิง 2 ออสการ์สาขาสารคดียอดเยี่ยม จาก Twist of Faith, The Invisible War)

From the makers of The Invisible War (2012) comes a startling exposé of rape crimes on U.S. college campuses, their institutional cover-ups and the devastating toll they take on students and their families. Weaving together verité footage and first-person testimonies, the film follows the lives of several undergraduate assault survivors as they attempt to pursue – despite incredible push back, harassment, and traumatic aftermath – both their education and justice

รางวัล (Award)

  • Nominated for Best Achievement in Music Written for Motion Pictures, Original Song (Academy Awards, USA 2016)
  • Stanley Kramer Award (PGA Awards 2016)
  • Outstanding Original Music and Lyrics (Primetime Emmy Awards 2016)
  • Best Original Song (Satellite Awards 2015)
  • Human Rights Award (Bergen International Film Festival 2015)
  • Best Original Score – Documentary (Hollywood Music In Media Awards (HMMA) 2015)
  • Outstanding Documentary Film (Women’s Image Network Awards 2015)
  • Best Documentary Feature Film (Utah Film Critics Association Awards 2015)
  • Artisan Award (Santa Barbara International Film Festival 2016)

doc club for kids

ประเด็นสำคัญในหนัง & ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี

ประเด็นสำคัญในหนัง

  • การถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับ “ทุกคน”

สังคมมักคิดว่า ผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศนั้น เป็นเพราะพวกเธอ “ทำตัวเสี่ยง” ไม่ว่าจะเพราะแต่งตัวโป๊ เข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง ไว้ใจคนผิด ไม่ระมัดระวังตัวเอง ฯลฯ แต่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงว่า การถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นภัยร้ายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และบุคคลที่สมควรได้รับโทษไม่ใช่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ แต่คือผู้ลงมือกระทำต่างหาก นอกจากนั้น ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ แต่ผู้ชายจำนวนมากก็ตกเป็นเหยื่อเช่นกัน

  • สถานศึกษาไม่ใช่ที่ปลอดภัย

เรามักเข้าใจว่าหากมีนักศึกษาตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศแล้ว สถาบันการศึกษาจะเข้ามาให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและรับมือกับสถานการณ์อย่างยุติธรรม แต่สิ่งที่ปรากฏในหนังกลับเป็นตรงกันข้าม มหาวิทยาลัยหลายแห่งเลือกจะ “ปิดปาก” ผู้ที่ถูกกระทำ กีดกันพวกเขาไม่ให้สามารถร้องเรียนหรือรายงานเหตุการณ์ได้โดยง่าย และหลาย ๆ ครั้งสถาบันการศึกษาก็ทำตัวเป็นคู่ขัดแย้งกับผู้ถูกกระทำเสียเอง

  • ผู้กระทำมีแนวโน้มจะกระทำต่อเนื่อง

ในหนังเผยข้อมูลว่า การล่วงละเมิดทางเพศส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เกิดจากผู้ถูกกระทำแค่ไม่กี่คน (ผู้ชายในมหาวิทยาลัยไม่ถึง 8% เป็นคนกระทำการล่วงละเมิดทางเพศมากกว่า 90%) แต่เมื่อมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับรายงาน ไม่จริงจังกับการสอบสวนและการพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม ก็ทำให้ผู้กระทำเหล่านี้มีโอกาสไปทำผิดซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง

  • สถาบันการศึกษาคือ “ธุรกิจ” ขนาดใหญ่

เป็นที่รู้กันว่า มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้นเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และอธิการบดีรวมถึงคณะกรรมการบริหารสถาบันก็มีหน้าที่ในการปกป้อง “แบรนด์” ไม่ให้เสื่อมเสีย เพื่อให้สถาบันยังสามารถสร้างรายได้มหาศาลต่อไปจากเงินบริจาคของบรรดาศิษย์เก่า นอกจากนั้น หนังยังให้ข้อมูลว่า อีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างกำไรให้แก่สถาบันมากที่สุด ก็คือการแข่งกีฬามหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงมีหลายกรณีที่เมื่อนักกีฬาชื่อดังของสถาบันกระทำการล่วงละเมิดทางเพศ แล้วสถาบันไม่สนใจจะพิจารณาความผิดเลย เพราะไม่ต้องการให้เส้นทางนักกีฬาของพวกเขาถูกกระทบกระเทือน

  • จาก “เหยื่อ” สู่ “ผู้รอด” และ “นักสู้”

ซับเจ็กต์สำคัญในหนังเรื่องนี้คือนักศึกษาหญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งเจ็บปวดซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลังจากถูกล่วงละเมิดทางเพศและพยายามร้องเรียนไปยังมหาวิทยาลัย นอกจากไม่ได้รับความยุติธรรม พวกเธอยังถูกอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาเหยียดหยาม แต่สิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้พวกเธอตัดสินใจรวมพลังกันแล้วลุกขึ้นสู้ ด้วยการยื่นฟ้องสถาบันของตน รวมทั้งสร้างเครือข่ายทั่วประเทศเพื่อเสริมพลังให้แก่นักศึกษาที่ถูกล่วงละเมิดคนอื่น ๆ ส่งผลให้ในปี 2015 มีสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกามากกว่า 100 แห่งที่ถูกรัฐบาลกลางสั่งสอบสวนในประเด็นนี้

 



ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี

1. ก่อนดูหนังเรื่องนี้ คุณเคยรู้มาก่อนมั้ยว่าในมหาวิทยาลัยมีเหตุการณ์นักศึกษาถูกล่วงละเมิดทางเพศมากมาย หากเพิ่งรู้ คุณรู้สึกยังไงบ้าง

2. หลังจากดูหนังแล้ว คุณคิดว่าการล่วงละเมิดทางเพศเกิดจากอะไร และคิดว่าจะป้องกันมันได้อย่างไร

3. คุณกับครอบครัวของคุณมีทัศนคติอย่างไรกับการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดัง ๆ และหลังดูหนังเรื่องนี้แล้ว ความคิดที่เคยมีต่อมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไปบ้างไหม อย่างไร

4. ถ้าเกิดเหตุการณ์มีคนถูกล่วงละเมิดทางเพศ คุณคิดว่าสังคมรอบตัวคุณมีวิธีรับมืออย่างไร มีความคิดอย่างไรต่อผู้ถูกกระทำ และมีการช่วยเหลืออย่างไร

5. เหยื่อหลาย ๆ คนในหนังเรื่องนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์หรือผู้บริหารมหาวิทยาลัย หนักกว่านั้นคือหลายกรณีกลับโดนดูถูกและกลั่นแกล้งด้วย คุณเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร คุณอยากให้มหาวิทยาลัยมีปฏิกิริยาอย่างไร

6. ลองนึกถึงสังคมที่คุณอยู่ เคยมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นไหม (ที่ผู้ถูกกระทำกลับตกเป็นฝ่ายถูกเหยียดหยามหรือถูกแกล้งซ้ำอีก)

7. ในหนัง เราได้เห็นว่าเหตุผลหนึ่งที่หลาย ๆ มหาวิทยาลัยไม่ยอมช่วยผู้ถูกกระทำ แถมยังหนุนหลังผู้กระทำด้วย ก็คือเรื่องของธุรกิจ (ห่วงเงินบริจาค ห่วงชื่อเสียง) คุณคิดว่ามหาวิทยาลัยจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ได้อย่างไรบ้าง ในอันจะรักษาชื่อเสียงของสถาบันพร้อม ๆ กับปกป้องนักศึกษาและรักษาความถูกต้องให้ได้ด้วย

8. ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศหลาย ๆ คนไม่กล้าเล่าเรื่องของตัวเองให้พ่อแม่ฟัง คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ พ่อแม่ควรทำตัวอย่างไรเพื่อให้ลูกพูดคุยด้วย

 

9. ถ้าคุณมีเพื่อนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ คุณจะบอกเพื่อนว่าอย่างไร จะช่วยพวกเขาอย่างไรได้บ้าง

 

Watch
more films

เจี่ยจางเคอกับจ้าวเทา : ‘คู่รัก’ และ ‘คู่หู’ มืออาชีพ

“ต่อเมื่อคุณ ‘กลาย’ เป็นตัวละครนั้นเวลาถ่ายทำจริงๆ แล้ว คุณจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าตัวละครนั้นเป็นใคร” ไม่มีข้อกังขาว่าจ้าวเทาคือหนึ่งในนักแสดงหญิงชาวจีนที่น่ายกย่องที่สุดคนหนึ่งของยุคสมัย […]

The Kindergarten Teacher

เมื่อ “ลิซ่า” ครูอนุบาลแห่งเกาะสแตเทน ค้นพบพรสวรรค์ยิ่งใหญ่ในตัวเด็กนักเรียนชายวัย 5 ขวบ เธอก็ตัดสินใจทุ่มตัวเองให้แก่การขัดเกลาสิ่งซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นเพชรน้ำงามเม็ดนี้ ก่อนที่ความเชื่อนั้นจะค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นสิ่งอันตรายที่ไม่มีใครคาดคิด

Overseas

สำหรับผู้หญิงจำนวนมากในฟิลิปปินส์ การไปทำงานเป็นคนรับใช้ในต่างประเทศคือทางออกของชีวิตที่ขัดสน และในอันจะบรรลุซึ่งเป้าหมายนั้น พวกเธอจะต้องทุ่มเทให้แก่การฝึกฝนใน “โรงเรียนแม่บ้าน” ซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายในประเทศ

Bangla Surf Girls

สารคดีติดตามการเติบโตของเด็กสาวในบังกลาเทศที่เข้าร่วมทีมเซิร์ฟท้องถิ่น ด้วยความฝันถึงเสรีภาพและการหลุดพ้นจากชีวิตประจำวันอันเต็มไปด้วยความรุนแรง

The Witches of the Orient

ย้อนประวัติศาสตร์ไปตื่นตะลึงกับชัยชนะระดับปรากฏการณ์โลกของทีมวอลเลย์บอลหญิงญี่ปุ่น เจ้าของฉายา “แม่มดแห่งตะวันออก”

Wheel of Fortune and Fantasy

นี่คือ 3 เรื่องราวความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของมนุษย์ที่ถูกบอกเล่าผ่าน “เหตุบังเอิญ” ซึ่งดูเหมือนจะดำเนินไปตามลิขิตแห่งโชคชะตา ในหลายชีวิตที่ล้วนเกี่ยวข้องกับ “ตัวตน” และ “ความรัก”

RBG

ในวัย 85 ปี รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก ผู้พิพากษาศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้สร้างตำนานการต่อสู้มายาวนาน แต่ชีวิตหนหลัวของเธอกลับยังไม่มีใครรู้มากนัก

Ask Dr. Ruth

ชีวิตอันแสนมหัศจรรย์ของ ดร.รูธ เวสต์ไฮเมอร์ ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่เป็นผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลายมาเป็นผู้บุกเบิกรายการ “ตอบปัญหาทางเพศ” ให้กับสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในอเมริกา

Forget Me Not

แม้เกาหลีใต้จะมีภาพลักษณ์เป็นสังคมร่ำรวยและทันสมัย แต่ยังคงถือเป็นเรื่องน่าอับอายอย่างรุนแรงหากผู้หญิงตั้งท้องโดยยังไม่ได้แต่งงาน นั่นเป็นเหตุผลให้เด็กสาวจำนวนมากต้องออกจากระบบการศึกษาและถูกส่งตัวไปอยู่ในศูนย์พักพิงเพื่อปิดบังการตั้งครรภ์ไว้เป็นความลับไม่ให้เพื่อนฝูงญาติมิตรรู้

TOKYO IDOLS

สำรวจหัวใจของวัฒนธรรมญี่ปุ่นร่วมสมัย ผ่านเรื่องราวความสัมพันธ์อันไม่ธรรมดาของ “ไอดอล” และ “โอตะ”

The Woman Who Ran

ระหว่างที่สามีเดินทางไปทำงานต่างเมือง กัมมีแก้เหงาด้วยกาเยี่ยมเยียนเพื่อนสาวสามคน การใช้เวลาสั้นๆ ร่วมกันของพวกเธอได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาซึ่งมีตั้งแต่เรื่องราวสัพเพเหระ ไปจนถึงการค้นพบบางสิ่งที่กัมมีไม่เคยใช้เวลาคิดถึง

Orlando, My Political Biography

ปี 1928 เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เขียน Orlando ซึ่งเป็นนิยายเรื่องแรกที่ตัวละครเอกเปลี่ยนเพศกลางเรื่อง หนึ่งศตวรรษต่อมา พอล บี พรีซิอาโด นักเขียนและนักเคลื่อนไหวทรานส์เขียนจดหมายในรูปแบบภาพยนตร์ส่งถึงวูลฟ์ ว่า บัดนี้ “ออร์แลนโด” ได้ก้าวสู่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว