The New Rijksmuseum
บันทึก 10 ปีแสนอลเวงเบื้องหลังการบูรณะพิพิธภัณฑ์ศิลปะสุดยิ่งใหญ่แห่งอัมสเตอร์ดัม
สถาพร ครูวรรณคดีผู้ติดอยู่กับพันธะและความจริงที่ว่าสิรินาถ ภรรยาของเขาตั้งครรภ์ ทำให้ไม่สามารถมีเซ็กส์ได้ตามต้องการ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสถาพรเลือกทิ้งภรรยาไว้ หนีออกมาจากชีวิตเก่า และได้พบกับเส้นทางสู่ “กรุงเกลือ” เมืองแห่งสรวงสวรรค์ในวรรณคดีที่เกิดขึ้นจริง ในระหว่างการเดินทางของเขา…
Sathaporn, a literature teacher, is joined by the bond and needs to accept the truth that Sirinarth, his pregnant wife, cannot have sex as much as he desires. What will happen if he decides to leave his lover behind, escape his old life and accidentally find the path to Krungkluea, a heaven in the literature, which becomes realistic during his journey.
DIRECTOR STATEMENT
แน่นอนว่าแรงบันดาลใจของภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งภาพความฝันอันเลือนลาง, ศิลปะวัฒนธรรมแบบไทยๆ, เรื่องราวของเพื่อนๆ ที่ถูกนำมาปะติดปะต่อกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กระแสสังคม “Me too” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่บทภาพยนตร์ “นิราศกรุงเกลือ” ถูกเขียน
ด้วยเหตุนี้เอง ความทรงจำในอดีตจึงถูกดึงกลับมาอีกครั้ง ทั้งที่มันควรจะอยู่ในจุดที่ลึกที่สุด ซึ่งสำหรับผม แม้ว่ามันจะไม่ใช่ความทรงจำที่ดี แต่การได้สะท้อนเรื่องราวเหล่านั้นลงบนภาพยนตร์ “สิ่งที่ผมรักที่สุด” มันก็คุ้มค่าที่จะลองทำ!
นี่จึงเป็นที่มาของ “นิราศกรุงเกลือ” / Me too ในแบบฉบับของผม ซึ่งเต็มไปด้วยบทบาทของ “ผู้กระทำ” และ “ผู้ถูกกระทำ” อันเป็นปัจจัยสำคัญของ “การคุกคามทางเพศ” ที่ส่งผลกระทบต่อใครหลายๆ คน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถละเลยหรือมองข้ามได้ แม้จะมั่นใจมากๆ ว่า เราแก้ไขอะไรไม่ได้เลยก็ตาม แต่ลึกๆ สิ่งที่ผมอยากจะทำก็คือ ระบายความในใจออกมา… เท่านั้นเอง
ท้ายที่สุด ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันฝ่าอุปสรรคด้วยกันมาจนถึงวันนี้ ขอบคุณคนที่รักที่คอยอยู่เคียงข้างกัน และขอโทษด้วยที่ไม่ได้เล่าเรื่องนี้ให้ฟังเร็วกว่านี้
– ณัฐนันท์ (กัญจน์) เทียมเมฆ ผู้กำกับ
บันทึก 10 ปีแสนอลเวงเบื้องหลังการบูรณะพิพิธภัณฑ์ศิลปะสุดยิ่งใหญ่แห่งอัมสเตอร์ดัม
ในสมรภูมิสื่อที่ครอบครองโดยผู้ชายมาช้านาน หนังสือพิมพ์และสำนักข่าวเล็ก ๆ ชื่อ “คาบาร์ลาฮารียา” ผงาดขึ้นสร้างปรากฏการณ์ใหม่อย่างอาจหาญ
มีนักทำหนังไทยไม่กี่คนที่เอาดีทางการทำสารคดีอย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ “นนทวัฒน์ นำเบญจพล” ผู้ใช้สารคดีบอกเล่าถึง “คนนอก” และตั้งคำถามต่อสังคมมาโดยตลอด
หนังที่ใช้เวลาสี่ปีเต็มติดตามนักเรียนบัลเลต์หนุ่มน้อยสามคน ผู้กำลังพบความท้าทายในการเตรียมตัวเข้าแข่งระดับชาติ
หลังคว้าปาล์มทองจาก Paris, Texas และเต็มอิ่มกับการใช้ชีวิตในอเมริกา วิม เวนเดอร์สตัดสินใจกลับเบอร์ลินเมืองแสนรัก ออกเดินสำรวจชีวิตผู้คน แล้วถ่ายทอดเรื่องราวของบ้านเมืองนี้ผ่านสายตาของ “เทวดา”
“โรงเรียนเตรียมอนุบาลเอบีซี” คือศูนย์รับดูแลเด็กเล็กที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงในโอคุโบะ โตเกียว เพื่อให้บริการแก่เหล่าพ่อแม่คนทำงานกลางเมืองที่ประสบปัญหาการเลี้ยงลูกแตกต่างกันไป
“ดี้” เป็นเด็กหญิงอายุ 12 ปีและเป็นชาวม้งที่ผู้หญิงต้องแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย แม่ของเธอ ตัวเธอ และผู้หญิงรอบข้างต่างต้องทนกับประเพณี “ลักพาตัวเจ้าสาว” อันอื้อฉาว
กว่าจะกลายมาเป็นคนทำหนังและนักแสดงระดับโลกดังที่เราเห็นในวันนี้ ทั้งคู่และเพื่อนอีกหลายชีวิตในวงการหนังเกาหลีใต้เคยผ่านช่วงเวลาแห่งการต่อสู้อันยากลำบากมาก่อน นี่อาจเป็นอีกหนึ่งข้อยืนยันชัดเจนว่า ความสำเร็จยิ่งใหญ่ของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายดายด้วยความบังเอิญ!
Movies Matter Co.,Ltd / THAILAND
© All Rights Reserved 2024
subscribe to newsletter to stay up to date with our films & events