SONITA

Whoever pays the most
will have me as his wife

90 นาที / 2016 / กำกับ : รอคห์ซาเรห์ กาเอมมากาห์มี / เรต : ทั่วไป
1 hr 30 min / 2016 / Director : Rokhsareh Ghaemmaghami / G

 

เจ้าของรางวัลสารคดีโลกยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังซันแดนซ์ เรื่องราวทรงพลังของ “โซนิตา อะลิซาเดห์” เด็กสาววัย 18 ที่ลักลอบอพยพจากอัฟกานิสถานมาอาศัยในชุมชนแออัดของอิหร่าน และไม่เพียงปัญหาความยากจนข้นแค้นเท่านั้นที่เธอต้องการหลบหนี ทว่าโซนิตายังปรารถนาจะหลุดพ้นจากแรงกดดันของครอบครัวที่ต้องการ “ขาย” เธอไปเป็นเจ้าสาวเพื่อแลกกับเงินสดหนึ่งก้อนซึ่งพี่ชายของเธอต้องการใช้จัดงานแต่งงานของตัวเอง ซ้ำร้าย โซนิตายังมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักร้องแร็ปอันเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมของเธอ เด็กสาวผู้นี้จะแสวงหาเสรีภาพได้อย่างไรในท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยข้อบังคับอันยากจะต้านทาน

Sonita is an 18-year-old female, an undocumented Afghan illegal immigrant living in the poor suburbs of Tehran. She is a feisty, spirited, young woman who fights to live the way she wants, as an artist, singer, and musician in spite of all her obstacles she confronts in Iran and her conservative patriarchal family. In harsh contrast to her goal is the plan of her family – strongly advanced by her mother – to make her a bride and sell her to a new family. The price right now is about US$ 9.000.

รางวัล (Awards) :

  • World Cinema – Documentary : Grand Jury Prize & Audience Award (Sundance Film Festival)
  • IDFA Audience Award (Amsterdam International Documentary Film Festival)
  • The Unforgettables – Sonita Alizadeh (Cinema Eye Honors Award)

doc club for kids

ประเด็นสำคัญในหนัง & ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี

ประเด็นสำคัญในหนัง

  • การแต่งงานของเด็ก (CHILD MARRIAGE)

ในหลายพื้นที่ของโลกปัจจุบันยังคงมีประเพณีที่บังคับเด็ก (โดยเฉพาะเด็กหญิง) วัยต่ำกว่า 18 ปีให้แต่งงาน และเจ้าสาววัยเยาว์เหล่านี้จำนวนมากก็ต้องพบกับปัญหาการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ เสียโอกาสที่จะได้ค้นหาเส้นทางชีวิตเป็นของตัวเอง ต้องยอมจำนนภายใต้ระบบชายเป็นใหญ่และความเชื่อเรื่องการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่-การเลี้ยงดูครอบครัว นับเป็นปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศที่ร้ายแรงมากปัญหาหนึ่ง

  • การตามหาความฝัน

ในหนัง โซนิต้าเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นแร็พเปอร์ ซึ่งไม่เพียงไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวของเธอ (ที่ต้องการให้เธอไปเป็นเจ้าสาวเพื่อหาเงินช่วยครอบครัว) เท่านั้น แต่รัฐบาลยังห้ามมิให้ผู้หญิงร้องเพลงเดี่ยว, โปรดิวเซอร์เพลงหลายคนปฏิเสธเธอเพราะมองไม่เห็นศักยภาพ และสถานะทางการเงินของเธอเองก็ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม โซนิต้ายังพยายามเดินตามความฝันของเธอด้วยการเปลี่ยนความอยุติธรรมที่ได้เจอในชีวิตออกมาเป็นบทเพลง และพยายามทำทุกวิถีทางที่จะพาตัวเองไปสู่อิสรภาพ

  • การท้าทายขนบประเพณี

ขณะที่หลาย ๆ ครอบครัวในโลกพยายามประคับประคองลูก ๆ ให้มีชีวิตที่ดีและอนาคตที่สวยงามตามความฝัน แต่ครอบครัวเด็กสาวจำนวนมากในอัฟกานิสถานยังมีความเชื่อและประเพณีการขายลูกสาวไปเป็นเจ้าสาวตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อแก้ปัญหาความยากจนที่คนในบ้านต้องเผชิญ แม่ของโซนิต้าประกาศว่า “ไม่ว่าลูกจะมีความสุขหรือไม่ก็ไม่สำคัญ มันเป็นประเพณี” โดยทั้งตัวแม่เองและพี่สาวของโซนิต้าก็ตกอยู่ใต้ประเพณีนี้แม้จะเห็นได้ชัดว่าไม่มีความสุข สภาพความเป็นจริงที่ปรากฏต่อหน้าจึงทำให้โซนิต้าพยายามฝ่าฝืนมัน

  • จริยธรรมของ “คนทำหนังสารคดี”

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการทำสารคดีเรื่องนี้ที่เป็นที่ถกเถียงกันมากก็คือ คนทำหนังมีหน้าที่บันทึกความเป็นจริงตรงหน้าแล้วถ่ายทอดออกมาสู่ผู้ชม แต่หากคนทำหนังเกิดความรู้สึกผูกพันกับบุคคลในหนัง เห็นอกเห็นใจ และถึงขั้นก้าวเข้าไปให้ความช่วยเหลือ จะถือว่าเป็นการผิดหน้าที่และละเมิดจริยธรรมของคนทำหนัง หรือเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วกันแน่? ในฉากที่ผู้กำกับกาเอมมากาห์มีเริ่มเกิดความลังเลว่าเธอควรช่วยโซนิต้าให้รอดจากการถูกจับแต่งงานหรือไม่ ช่างเสียงของเธอขัดขึ้นให้เราได้ยินว่า “คุณเป็นคนทำหนังนะ คุณไม่ควรยื่นมือเข้าไปแทรกแซง สิ่งที่คุณควรทำคือถอยหลังออกมาแล้วมองให้เห็นประเด็นที่ใหญ่กว่านี้” แต่กาเอมมากาห์มีไม่สามารถทำตามนั้นได้ และการตัดสินใจของเธอก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในสารคดีเรื่องนี้

 



ดูจบแล้วคุยอะไรกันดี

1. หลังจากดูหนังจบแล้วมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง มีความหวัง รู้สึกสิ้นหวัง หรือเฉย ๆ และคุณคิดว่าคนทำหนังคาดหวังอยากให้คนดูรู้สึกอย่างไร

2. การกระทำบางอย่างที่ “เป็นประเพณี” อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่ดีและที่แย่ ที่ถูกและที่ผิด แล้วเราจะสามารถเคารพประเพณีดั้งเดิม พร้อม ๆ กับเคารพเรื่องความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชนไปพร้อม ๆ กันได้ไหม

3. หลังจากได้ฟังเพลงแร็พของโซนิต้า คุณคิดว่าอะไรคือสาระสำคัญที่เธออยากจะสื่อ

4. ปกติคุณชอบฟังเพลงแร็พมั้ย ชอบฟังเพลงแนวไหน คุณคิดว่าเพลงสามารถเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความเจ็บปวดที่ผู้คนพบเจอในชีวิตของตนได้อย่างไรบ้าง และมันจะสามารถสร้างผลกระทบหรือนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้ไหม

5. เห็นด้วยรึเปล่าที่คนทำหนังเรื่องนี้ตัดสินใจยื่นมือเข้าไปช่วยโซนิต้าจนนำมาสู่เรื่องราวครึ่งหลังในหนังแบบที่เห็น คุณคิดว่าคนทำหนังควรจะมีบทบาทอย่างไรกันแน่ ถ้าคุณเป็นคนทำหนังเรื่องนี้คุณจะเลือกทำอย่างไร

6. ครอบครัวของโซนิต้ามีอิทธิพลมาก ๆ ต่อชีวิตของเธอ แล้วครอบครัวของคุณล่ะมีอิทธิพลแบบนี้ไหม มีความเป็นไปได้ไหมที่พวกเขาจะพยายามกำหนดเส้นทางชีวิตให้คุณ
ถ้าคุณเป็นโซนิต้า คุณจะทำอย่างไรเมื่อถูกแม่บังคับขนาดนั้น จะยอมตามหรือจะต่อต้าน หากต่อต้านจะใช้วิธีอะไร เพราะอะไร

7. หนังเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ที่ผู้หญิงมีสิทธิเสียงและทางเลือกในชีวิตน้อย คุณคิดว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศนี้เกิดขึ้นกับชีวิตประจำวันของตัวคุณหรือคนใกล้ตัวคุณบ้างไหม เช่นเรื่องอะไร

Watch
more films

Nothing Like a Dame

บันทึกการสนทนาของนักแสดงหญิงรุ่นลายครามของอังกฤษทั้ง 4 คนซึ่งได้รับยศ “คุณหญิง” จากสมเด็จพระราชินีฯ อันได้แก่ ไอลีน แอตกินส์, จูดี เดนช์, โจน พลาวไรต์ และแม็กกี สมิธ โดยผู้กำกับโรเจอร์ มิเชลล์ (Notting Hill)

Saint Omer

ณ ศาลเมืองแซ็งโตแมร์ นักเขียนหญิงเดินทางไปสังเกตการณ์คดีหญิงสาวที่ถูกจับข้อหาฆ่าลูกสาววัย 15 เดือนของตน แต่ยิ่งการพิจารณาคดีดำเนินไป ความเชื่อของเธอและเราทุกคนกลับยิ่งสั่นคลอน

THE KINGMAKER

อิเมลดา มาร์กอส เป็นอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของฟิลิปปินส์คือผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง และโด่งดังจากวิถีชีวิตหรูหรา สารคดีพาเราสำรวจความอื้อฉาวในตำนานของเธอ

CITIZEN JANE: BATTLE FOR THE CITY

สารคดีเรื่องราวแห่งการสู้ยิบตาของ เจน เจคอบส์ ไอดอลขวัญใจนักออกแบบเมืองทั่วโลก

The Kindergarten Teacher

เมื่อ “ลิซ่า” ครูอนุบาลแห่งเกาะสแตเทน ค้นพบพรสวรรค์ยิ่งใหญ่ในตัวเด็กนักเรียนชายวัย 5 ขวบ เธอก็ตัดสินใจทุ่มตัวเองให้แก่การขัดเกลาสิ่งซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นเพชรน้ำงามเม็ดนี้ ก่อนที่ความเชื่อนั้นจะค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นสิ่งอันตรายที่ไม่มีใครคาดคิด

RBG

ในวัย 85 ปี รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก ผู้พิพากษาศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้สร้างตำนานการต่อสู้มายาวนาน แต่ชีวิตหนหลัวของเธอกลับยังไม่มีใครรู้มากนัก

Writing with Fire

ในสมรภูมิสื่อที่ครอบครองโดยผู้ชายมาช้านาน หนังสือพิมพ์และสำนักข่าวเล็ก ๆ ชื่อ “คาบาร์ลาฮารียา” ผงาดขึ้นสร้างปรากฏการณ์ใหม่อย่างอาจหาญ

Overseas

สำหรับผู้หญิงจำนวนมากในฟิลิปปินส์ การไปทำงานเป็นคนรับใช้ในต่างประเทศคือทางออกของชีวิตที่ขัดสน และในอันจะบรรลุซึ่งเป้าหมายนั้น พวกเธอจะต้องทุ่มเทให้แก่การฝึกฝนใน “โรงเรียนแม่บ้าน” ซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายในประเทศ

TOKYO IDOLS

สำรวจหัวใจของวัฒนธรรมญี่ปุ่นร่วมสมัย ผ่านเรื่องราวความสัมพันธ์อันไม่ธรรมดาของ “ไอดอล” และ “โอตะ”

WESTWOOD : PUNK, ICON, ACTIVIST

“วิเวียน เวสต์วูด” โด่งดังก้องโลกในฐานะเจ้าแม่แฟชั่นพังค์ ผู้สุดจะแหกคอกตั้งแต่ด้านงานดีไซน์ ไปยันทัศนคติการใช้ชีวิต และการเป็นแอ็กติวิสต์ตัวเจ็บ แต่นี่คือหนังเรื่องแรกที่จะบอกเล่าการต่อสู้ทุกด้านอย่างแท้จริง ของหนึ่งในไอค่อนผู้ทรงอิทธิพลแห่งยุคสมัยคนนี้!

IRIS

ล้วงลึกชีวิตและความคิดสุดเปรี้ยวของ ไอริส แอพเฟล แฟชั่นไอค่อนผู้ยิ่งใหญ่วัย 93 ปี

เจี่ยจางเคอกับจ้าวเทา : ‘คู่รัก’ และ ‘คู่หู’ มืออาชีพ

“ต่อเมื่อคุณ ‘กลาย’ เป็นตัวละครนั้นเวลาถ่ายทำจริงๆ แล้ว คุณจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าตัวละครนั้นเป็นใคร” ไม่มีข้อกังขาว่าจ้าวเทาคือหนึ่งในนักแสดงหญิงชาวจีนที่น่ายกย่องที่สุดคนหนึ่งของยุคสมัย […]